เทศบาลตำบลดอนเขือง info_outline ข้อมูลการติดต่อ
เทศบาลตำบล
ดอนเขือง
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลดอนเขือง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
info_outline เกี่ยวกับหน่วยงาน
ส่วนที่ ๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านกายภาพ ๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลดอนเขือง ตำบลแวง ประกอบด้วย หมู่ที่ ๔ บ้านสร้างแป้น หมู่ที่ ๖ บ้านดอนเขือง หมู่ที่ ๑๐ บ้านสร้างแป้น เทศบาลแบ่งเขตการปกครองดังนี้ ชุมชนที่ ๑ ชุมชนรวมใจสามัคคีที่ ๑ (หมู่ที่ ๔) ชุมชนที่ ๒ ชุมชนมเหศักดิ์ (หมู่ที่ ๔) ชุมชนที่ ๓ ชุมชนโพธาราม (หมู่ที่ ๔) ชุมชนที่ ๔ ชุมชนพัฒนาสามมัคคี (หมู่ที่ ๔) ชุมชนที่ ๕ ชุมชนร่วมใจพานพร้าว (หมู่ที่ ๑๐) ชุมชนที่ ๖ ชุมชนประชารวมใจ (หมู่ที่ ๑๐) ชุมชนที่ ๗ ชุมชนเทพประทานพร (หมู่ที่ ๑๐) ชุมชนที่ ๘ ชุมชนหลักเมือง (หมู่ที่ ๖) ชุมชนที่ ๙ ชุมชนโนนสีดา (หมู่ที่ ๖) สำนักงานเทศบาลตำบลดอนเขือง (ปัจจุบันเป็นเทศบาลขนาดกลาง ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒) ตั้งอยู่ที่ ๕๒๔๖ หมู่ ๑๐ ถนนนิตโย ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร - นายกเทศมนตรี ๐๔๒-๗๒๙๓๘๔ - ปลัดเทศบาล ๐๔๒-๗๒๙๐๔๔ - สำนักปลัดเทศบาล ๐๔๒-๗๒๙๐๙๑ โทรสาร ๐๔๒–๗๒๙๐๙๑ - กองคลัง ๐๔๒-๗๒๙๕๘๔ - กองช่าง ๐๔๒-๗๒๙๕๘๕ - กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ๐๔๒-๗๒๙๕๘๖ - กองการศึกษา ๐๔๒-๗๒๙๕๘๘ - งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๐๔๒-๗๒๙๐๘๒ ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศของเทศบาล ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ ๖๐% เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร ๓๕ % และมีพื้นที่ส่วนอื่น ๕% มี ๓ ฤดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว) ๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ลักษณะอากาศร้อน และมีพายุฝนหลงฤดูบางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน เรียกว่า“พายุฤดูร้อน” ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๙๐๐ มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๕ องศา ๑.๔ ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย และมีสภาพเป็นดินเค็มบางส่วน ๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเทศบาลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้ - หนอง บึง จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ หนองมะค่า หนองไผ่ล้อม และหนองตาโม้ - คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ห้วยโพนทอง ห้วยแม็คโคร ห้วยหนองแวง ห้วยขี้เหล็ก และห้วยยาม ๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ๒. ด้านการเมือง/การปกครอง เทศบาลได้จัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาล มีทั้งหมด ๙ ชุมชนแต่ละชุมชนมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ๙ คน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของเทศบาล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ) - จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๓,๒๙๕ คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๕๖) - จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ๓,๓๓๐ คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุด (พ.ศ.๒๕๕๖) - จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๒,๒๐๒ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๒๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๘๓ - จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ๒,๒๔๙ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๓๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๑๕ ๒.๑ เขตการปกครอง เทศบาลตำบลดอนเขืองเดิมเป็นสุขาภิบาลดอนเขืองตั้งอยู่ที่บ้านดอนเขือง ตำบลแวง อำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๐๙ และได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลดอนเขือง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ( ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๖ ตอน ๙ ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ) เป็นเทศบาลขนาดกลาง ได้สร้างสำนักงานขึ้นใหม่เป็นอาคารสองชั้น ตั้งอยู่ถนนสายสกลนคร – อุดรธานี ( ถนนนิตโย ) ห่างจากที่ตั้งจังหวัดสกลนคร ประมาณ ๖๗ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอสว่างแดนดิน ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร อาณาเขตของเทศบาลตำบลดอนเขือง ทิศเหนือ - จดเขตติดต่อบ้านโนนเสาขวัญ , บ้านโนนเรือ ทิศใต้ - จดเขตติดต่อ อบต. ตาลเนิ้ง ทิศตะวันออก - จดเขตติดต่อ อบต.แวง และ อบต. ตาลเนิ้ง ทิศตะวันตก - จดเขตติดต่อ เทศบาลพันนา , อบต.ธาตุทอง เทศบาลแบ่งเขตการปกครองดังนี้ ชุมชนที่ ๑ ชุมชนรวมใจสามัคคี ชุมชนที่ ๒ ชุมชนมเหศักดิ์ ชุมชนที่ ๓ ชุมชนโพธาราม ชุมชนที่ ๔ ชุมชนพัฒนาสามัคคี ชุมชนที่ ๕ ชุมชนร่วมใจพานพร้าว ชุมชนที่ ๖ ชุมชนประชาร่วมใจ ชุมชนที่ ๗ ชุมชนเพทประทานพร ชุมชนที่ ๘ ชุมชนหลักเมือง ชุมชนที่ ๙ ชุมชนโนนสีดา ๒.๒ การเลือกตั้ง เทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลดอนเขือง ทั้งเขตเทศบาลเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลออกเป็น ๒ เขต ดังนี้ เขตเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ประกอบด้วย ชุมชน ๑ – ๙ เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เขตเลือกตั้งที่ ๑ ประกอบด้วย ชุมชน ๑ – ๕ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบไปด้วย ชุมชน ๖ – ๙ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดอนเขือง ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาเทศบาลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ) - จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๓,๒๙๕ คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง(ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๔ กรกาคม พ.ศ. ๒๕๕๖) - จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ๓,๓๓๐ คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ. ๒๕๕๖ ) - จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๒,๒๐๒ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๒๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๘๓ - จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ๒,๒๔๙ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๓๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๑๕ ๓. ประชากร ๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร ( ข้อมูล : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลดอนเขือง ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ) ๔. สภาพทางสังคม ๔.๑ การศึกษา ระบบการศึกษา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง คือ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดโพธิ์ชัยบ้านสร้างดู่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสร้างแป้น จากโครงการการถ่ายโอนจากกระทรวงศึกษาธิการและกรมการศาสนามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาล มีสถานศึกษา ๓ แห่ง คือ โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑ แห่ง และโรงเรียนชั้นประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ๒ แห่ง เทศบาลไม่มีสถาบันการศึกษาใด ๆ อยู่ในสังกัดดูแล การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

( ข้อมูล : โรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอนเขือง ณ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ )

ส่วนที่ ๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน/1
๔.๒ สาธารณสุข ประชากรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมากเทศบาลได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่งประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี (๑) หน่วยงานด้านสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑ แห่ง - สถานพยาบาล จำนวน ๒ แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๓ แห่ง - อัตราครัวเรือนที่ใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ ๔.๓ อาชญากรรม เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของเทศบาลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก ลูกศรบอกทาง รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากการแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. ชรบ. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางเทศบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้ ๔.๔ ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรแวงได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ๔.๕ การสังคมสังเคราะห์ เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้ ๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ ๔. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง ๕. ระบบบริการพื้นฐาน ในเขตเทศบาลมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้ ๕.๒ การไฟฟ้า การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้ (๑) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า ๒,๐๘๕ หลังคาเรือน (๒) ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน ๘๕๐ จุด ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตเทศบาล (ข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสว่างแดนดิน ณ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ) ๕.๓ การประปา การประปา เป็นของการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอสว่างแดนดิน สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้ ดังนี้ (๑) จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา ๖๒๘ หลังคาเรือน (๒) หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา เป็นของการประปาส่วนภูมิภาคสว่างแดนดิน ๑ แห่ง (๓) ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย ๔๕๐ ลบ.ม. ต่อวัน (๔) แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาได้จากบ่อตาโม้และลำห้วยยาม (ข้อมูลจากการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอสว่างแดนดิน ณ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ) ๕.๔ โทรศัพท์ (๑) จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล/หน่วยงานราชการ จำนวน ๒๘๐ หมายเลข (๒) เสียงตามสายในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุม ร้อยละ ๑๐๐ ของพื้นที่เทศบาล (ข้อมูลจากศูนย์บริการลูกค้า TOT สาขาสว่างแดนดิน ณ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ) ๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ (๑) มีไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์ (ข้อมูลจากไปรษณีย์สาขาดอนเขือง ) ๕.๖ เส้นทางคมนาคม ในเขตเทศบาลมีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่เทศบาลที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ ๗๐ เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้หรือร้อยละ ๑๐๐ โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย ปัญหาคือ เทศบาลไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ ปัจจุบันเทศบาลมีเส้นทางคมนาคม ดังนี้ (๑) การคมนาคม การจราจร เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้ ๑.๑) ทางหลวงแผ่นดิน - หมายเลข ๒๒ ถนนนิตโย สายอุดรธานี – สกลนคร ๑.๒) การจัดการขนส่งมวลชน ประกอบด้วย - ท่ารถโดยสารปรับอากาศสกลนคร - กรุงเทพฯ (บริษัทเชิดชัยทัวร์ ,บริษัทโลตัสพิบูลทัวร์ , บริษัท ๔๐๗ พัฒนา) - รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – นครพนม - รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี - สกลนคร - รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – อุบลราชธานี - รถโดยสารประจำทาง สาย นครพนม – เชียงราย - รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – บึงกาฬ - รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – บ้านแพง - รถตู้โดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – มุกดาหาร ๑.๓) ถนน เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้ ทางหลวงแผ่นดิน - หมายเลข ๒๒ ถนนนิตโย สายอุดรธานี - สกลนคร ถนน - สภาพถนน คอนกรีต จำนวน ๑๑ สายทาง ระยะทาง ๑๕.๒๒๐ กม. ราดยาง จำนวน ๒ สายทาง ระยะทาง ๑,๔๒๐ กม. - ถนนของท้องถิ่น เทศบาลตำบลดอนเขือง จำนวน ๓๘ สายทาง สภาพถนน คอนกรีต จำนวน ๓๘ สายทาง ระยะทาง ๕.๔๕๕ กม. ลูกรัง จำนวน ๑ สายทาง ระยะทาง ๐.๕๐๐ กม. ๖. ระบบเศรษฐกิจ ๖.๑ การเกษตร ลักษณะการประกอบอาชีพในเขตเทศบาล ส่วนมากอยู่ในภาคการเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญ คือ การปลูกข้าวและปลูกพืชหมุนเวียน ซึ่งมูลค่าทางการเกษตรยังต่ำ เพราะการเพาะปลูกข้าวได้เฉพาะปีละครั้งหรือข้าวนาปี ระบบการชลประทานยังไม่มี และไม่มีระบบส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้ง ๖.๒ การปศุศัตว์ - เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ๖.๔ การพาณิชย์ /สถานบริการ การพาณิชย์ ธนาคาร ๑ แห่ง ตลาดสด ๑ แห่ง ร้านค้าในตลาดสด ๒๒ แห่ง ร้านค้าต่างๆ ๑๕ แห่ง สถานีบริการน้ำมัน ๑ แห่ง โรงฆ่าสัตว์ ๑ แห่ง โรงสีไฟนำเซ้ง ๑๙๙๑ จำกัด จำนวน ๑ แห่ง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน ๑ แห่ง สถานบริการ รีสอร์ท ๔ แห่ง ร้านอาหาร ๔ แห่ง ร้านเกมส์ ๔ แห่ง ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย ๑ แห่ง ตู้เอทีเอ็มธนาคารออมสิน ๑ แห่ง ตู้เอทีเอ็ม ธกส. ๑ แห่ง ท่ารถโดยสารปรับอากาศสกลนคร - กรุงเทพฯ (บริษัทเชิดชัยทัวร์ ,บริษัทโลตัสพิบูลทัวร์ , บริษัท ๔๐๗ พัฒนา) ช่วงเวลา ๑๙.๓๐ น. และ ๒๐.๐๐ น. รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – นครพนม รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี - สกลนคร รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – อุบลราชธานี รถโดยสารประจำทาง สาย นครพนม – เชียงราย รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – บึงกาฬ รถโดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – บ้านแพง รถตู้โดยสารประจำทาง สาย อุดรธานี – มุกดาหาร ๖.๕ การท่องเที่ยว - มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ “ทีฆายุโกเจติยานุสรณ์เจดีย์ ” เป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของ พระอาจารย์หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก และเป็นที่เก็บรักษาเครื่องอัฐบริขารขององค์หลวงปู่สมัยทีฆายุโกสมควรได้รับการบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนและฝึกปฏิบัติจากองค์พ่อแม่ ครูบาอาจารย์หลายท่านด้วยกัน เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น ซึ่งทั่งหมดล้วนแล้วแต่เป็นลูกศิษย์ของ องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระผู้เป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐานในยุคปัจจุบันและพระอัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพ ศัรทธา เลื่อมใส สักการะของพุทธศาสนิกชน ระยะเวลาในการก่อสร้างมีพิธีวางศิลาฤกษ์วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมระยะเวลาก่อสร้าง ๔ ปี ใช้งบประมาณ ๑๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สิบสองล้านห้าแสนบาทถ้วน ) ทั้งนี้ เทศบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ ๖.๖ อุตสาหกรรม - จำนวนกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (โรงสีข้าว) จำนวน ๑ แห่ง ๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การพาณิชย์ ธนาคาร ๑ แห่ง สถานีบริการน้ำมัน ๑ แห่ง ตลาดสด ๑ แห่ง โรงฆ่าสัตว์ ๑ แห่ง ร้านค้าต่างๆ ๒๒ แห่ง กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๔ กลุ่ม ๑. กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า ๒. กลุ่มทอผ้าไหม ๓. กลุ่มเกษตร ๔. กลุ่มจักรสาน ๖.๘ แรงงาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ๗. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ๗.๒ ข้อมูลด้านการเกษตร
(๑) ชุมชน ๑ ชุมชนร่วมใจสามัคคี มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๓๐ ไร่

(๒) ชุมชน ๒ ชุมชนมเหศักดิ์ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๔๑ ไร่

(๓) ชุมชนที่ ๓ ชุมชนโพธาราม มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๙๙ ไร่

(๔) ชุมชนที่ ๔ ชุมชนพัฒนาสามัคคี มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๙๘ ไร่

(๕) ชุมชนที่ ๕ ชุมชนร่วมใจพานพร้าว มีพื้นที่ทั้งหมด ๙๔๕ ไร่

(๖) ชุมชนที่ ๖ ชุมชนประชารวมใจ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๕๘ ไร่

(๗) ชุมชนที่ ๗ เทพประทานพร มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๒๙ ไร่

(๘) ชุมชนที่ ๘ ชุมชนหลักเมือง มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕๕ ไร่

(๙) ชุมชนที่ ๙ ชุมชนโนนสีดา มีพื้นที่ทั้งหมด ๘๐๙ ไร่

๗.๓ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร (๑) ชุมชนที่ ๑ ชุมชนร่วมใจสามัคคี มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๓๐ ไร่


× เทศบาลตำบลดอนเขือง